เกาะสุมาตรา (Sumatra หรือ Sumatara หรือ Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย
แกนที่ยาวที่สุดของเกาะอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือไปตะวันออกเฉียงใต้ โดยผ่านเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง พื้นที่ด้านในของเกาะแบ่งเป็น 2 เขตทางภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ คือ เทือกเขาบารีซัน (Barisan Mountains) ทางตะวันตกและพื้นที่ลุ่มทางตะวันออก
ทางตะวันออกเฉียงใต้คือเกาะชวา แบ่งด้วยช่องแคบซุนดา ทางเหนือคือคาบสมุทรมาเลย์ แบ่งด้วยช่องแคบมะละกา ทางตะวันออกคือเกาะบอร์เนียว แบ่งด้วยช่องแคบการีมาตา (Karimata Strait) ทางตะวันตกของเกาะคือมหาสมุทรอินเดีย สันหลังของเกาะคือเทือกเขาบาริซาน ภูเขาไฟในภูมิภาคนี้ทำให้เกาะนี้มีทั้งพื้นดินอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพอันสวยงามเช่น รอบ ๆ ทะเลสาบโตบา (Lake Toba) นอกจากนี้ ยังมีแร่ถ่านหินและทองคำด้วย ทางตะวันออก แม่น้ำใหญ่พัดพาเอาตะกอนดินจากภูเขา ทำให้เกิดลุ่มกว้างขวาง พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเกษตร อย่างไรก็ดี พื้นที่นี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่ออินโดนีเซียเป็นอย่างมาก สุมาตราผลิตน้ำมันทั้งจากบนดินและใต้ดิน ("from above the soil and underneath") กล่าวคือ ผลิตทั้งน้ำมันปาล์มและปิโตรเลียม
พื้นที่ส่วนใหญ่ของสุมาตราเคยปกคลุมด้วยป่าชื้นเขตร้อน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น ลิงอุรังอุตัง สมเสร็จ และ เสือสุมาตรา และพืชพรรณที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น แรฟเฟิลเซีย (Rafflesia) อย่างไรก็ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ร่วมกับการคอร์รัปชันและการทำไม้ผิดกฎหมาย ทำให้มีพื้นที่ลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ พื้นที่อนุรักษ์ยังถูกทำลายด้วย
North Sumatra
สุมาตราเหนือ ( อินโดนีเซีย : Sumatera Utara) สุมาตราเหนือทอดตัวไปตามเกาะของเกาะสุมาตรา ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและช่องแคบมะละกา มีพื้นที่ 72,981 กิโลเมตร มีที่กว้างราบต่ำตามช่องแคบมะละกา ส่วนทางทิศใต้และทิศตะวันตกดินขึ้นไปเป็นเทือกเขาทอดตัวตามความยาวของเกาะสุมาตรา ภูเขาเกิดจาก การระเบิดของภูเขาไฟโบราณ
ในสมัยโบราณ เกาะแห่งนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า สุวรรณทวีป (เกาะทอง) และสุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) ทั้งนี้ก็เพราะมีการพบทองคำบนที่ราบสูงของเกาะแห่งนี้ ส่วนนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ เรียกเกาะนี้หลายชื่อ ได้แก่ ลามรี, ลามุรี, ลามบรี และรามนี (Lamri , Lamuri, Lambri , Ramni) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10- 13 โดยหมายถึงอาณาจักรที่อยู่ใกล้กับเมืองบันดุงอาเจะห์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดแรกที่พ่อค้าที่เดินเรือมักแวะมาขึ้นฝั่ง ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ชื่อสุมาตราเป็นที่นิยมเรียกกันมาก โดยหมายถึงอาณาจักรซามูดรา (สมุทร) ซึ่งกำลังเรืองอำนาจ แต่นักเขียนชาวยุโรปในศตวรรษที่ 19 พบว่าชาวพื้นเมืองไม่มีคำเรียกชื่อเกาะแห่งนี้
เมดาน เริ่มต้นเป็นหมู่บ้านที่เรียกว่า กัมปง เมดาน (หมู่บ้านเมดาน ). หมู่บ้านเมดาน ถูกก่อตั้งโดย Guru Patimpus ประมาณปี ค.ศ. 1590 พื้นที่ดั้งเดิมของเมดาน เป็นพื้นที่บริเวณที่ แม่น้ำดีลิ Deli River และ แม่น้ำบาบูรา Babura River มาบรรจบกัน พ่อค้าชาวอาหรับในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 มีการบันทึกว่าชื่อ “ เมดาน “ มีที่มาจาก เมดิน่า ซึ่งเป็นชื่อเมืองศักดิ์สิทธิ์ในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมีแหล่งข้อมูลอื่น ที่ระบุว่าชื่อของเมดานที่จริงมาจาก คำในภาษาฮินดี ของอินเดียที่ว่า"Maidan"แปลว่า "พื้นดิน" หรือ "ที่ดิน" ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเมดาน ย้ายถิ่นฐานมาจากคาบสมุทรมาลายู ( ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน ) ในอดีตเมดานอยู่ภายใต้การปกครองของ สุลต่านแห่งอาเจะห์ มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรื่องอย่างมาก และ ในรัชสมัยปีที่สองของสุลต่าน Deli (ระหว่าง 1669-1698) เมดานเกิดมีสงครามขึ้น และมีการสู้รบกับกองทหารม้าของอาเจะห์ จนทำให้เมดานขาดการเหลียวแลจากอาเจะห์ ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร จนถึงปีค.ศ. 1860 มีการเข้ามาของชาวดัตช์ มีการริเริ่มเพาะปลูกยาสูบ จนทำให้เมดานเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ในปี 1918 เมดานได้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของ จังหวัดสุมาตราเหนือ
เมดาน มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ 3 เส้น คือ
1.ดาเนา โตบา เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย มีเกาะซาโมซีร์ อยู่ตรงกลางทะเลสาบ ห่างจากเมดานราว 160 กม
2.เบอรัสตากี เป็นเมืองบนที่สูงราวพันเมตร อากาศเย็นวิวสวย ห่างเมดานราว 70 กม
3.อุทยานแห่งชาติ กูนุง ลิวเซอร์ เน้นเดินป่า ห่างเมดานราว110 กม
การเดินทางไปเมืองเมดาน จากประเทศไทย ค่อนข้างลำบาก ต้องนั่งเรือข้ามช่องแคบมะละกาขึ้นฝั่งที่เมืองเบลาวัน ( Belawan ) มีอาคารเก่าแก่จำนวนมากใน Medan ที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมของชาวดัตช์เอาไว้ อาคารเหล่านี้รวมถึงศาลากลางจังหวัดเก่า ไปรษณีย์กลาง และอาคาร The Tirtanadi Water Tower ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของเมือง และเมดานก็ยังมีชาวพื้นเมืองที่สำคัญคือชาว บาตัค เป็นพวกมนุษย์กินคน ลักษณะเด่นเฉพาะคือบ้านแบบบาตัค
Maimoon Palace
วังสุลต่านในเมืองเมดาน เป็นคอนกรีตกึ่งไม้ 2 ชั้น สถาปัตยกรรมทรงปั้นหยาผสมตะวันตก มีอายุร้อยกว่าปี สร้างโดย Sultan of Deli ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1888 มีสุลต่าน ซึ่งสืบทอดมากว่า 12 รุ่น จนกระทั่งสุลต่าน อัซมี่ เปอร์กาสา อลาม อัลฮัจ สุลต่านองค์ก่อนพร้อมด้วยสุลตาน่าได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องพระที่นั่งตก เมื่อคราวเกิดเหตุการณ์กบฏแบ่งแยกดินแดนที่จังหวัดอาเจะห์ ทำให้สุลต่านองค์ปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นอายุเพียง 9 ขวบ ต้องขึ้นรับตำแหน่งสุลต่านแห่งวัง Maimoon แทน สำหรับพระราชวัง (The Palace), Grand Mosque, และ Taman Sri Deli นั้นถูกสร้างขึ้นในปี 1886 ซึ่งเป็นแหล่งทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในยุคเดียวกัน
พระราชวัง Maimoon และพระที่นั่งของราชบุตรจัดไว้ให้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้ ( ในรูปผมขอนั่งเป็นราชบุตรสักพักครับ และมีบัลลังค์ของสุลต่านเหมือนกัน แต่จัดโชว์ไม่อนุญาตให้นั่ง )
ระยะทางจากเมดานมุ่งหน้าสู่เมือง “ พาราพัท ” ( Parapat ) เป็นท่าเรือสำหรับไปล่องทะเลสาบโทบา และท่าเรือที่จะไปเกาะ “ ซาโมซีร์ ” ( Samosir Island ) ซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในทะเลสาบโทบา ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเมดานราว160กิโลเมตร ดังนั้นเราจึงต้องผ่านเมืองน้อยใหญ่ และจะพบสวนยาง สวนปาล์ม ไปตลอดทาง มีเมืองสำคัญระหว่างเส้นทางคือ “ บราสตากี้ ” ( Berastag i ) เป็นเมืองที่อยู่บนที่ราบสูงคาโรอากาศเย็น เป็นเมืองเริ่มต้นสำหรับคนที่ตั้งใจไปปีนภูเขาไฟ Sibayak หรือภูเขาไฟ Sinabung
เมือง Berastagi เมืองแห่งผลไม้
เมืองบราสตากี้นั้น (Berastagi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,220 เมตร จึงทำให้มีอากาศเย็นสบายทั้งปี ตั้งอยู่ใกล้ๆกับทะเลสาบโทบาและอยู่ห่างจากเมืองเมดานเพียง 70 กิโลเมตรเท่านั้น อยู่ใกล้กับภูเขาไฟซินาบุงและซิบายัค จึงทำให้พื้นที่นี้สามารถเพาะปลูกไม้ผลได้เป็นอย่างดี ก็เพราะว่าดินภูเขาไฟเป็นดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุนานาประการนั่นเอง จึงทำให้ที่เมืองบราสตากี้นี้เป็นศูนย์กลางค้าส่งทั้งผักและผลไม้ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อที่นี่เลยคือ อะโวคาโด เสาวรส มะม่วง ส้ม สตรอเบอรี่ สละ ซึ่งสละอินโดนีเซียนั้นขึ้นชื่อมากเรื่องความกรอบของเนื้อสละ
ออกนอกเส้นทางสักหน่อย ....แวะไปดูภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงของเกาะสุมาตรา มีทั้งภูเขาไฟซินาบุง (Sinabung Volcano) และภูเขาไฟซิบายัค (Sibayak Volcano) …..ภาษาอินโดนีเซียเรียกภูเขาไฟว่า “ กุนุง ” (Gunung)
Sinabung Volcano
ภูเขาไฟซินาบุงนั้นเป็นภูเขาลูกแรกที่จะถึงก่อนซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองบราสตากี้เพียง 30 กิโลเมตร ด้วยความสูงจากยอดวัดได้ 2,417 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล บริเวณยอดภูเขาไฟมีจุดพักแรมไว้บริการนักไต่เขาด้วย ภูเขาไฟลูกนี้ยังคงมีชีวิตอยู่นะครับ ยังคงมีควันและเถ้าถ่านพุ่งออกมาเสมอ ในอดีตภูเขาไฟลูกนี้เคยระเบิดขึ้น พ่นควันและลาวาเถ้าถ่านออกมาปกคลุมถึงน่านฟ้าภาคใต้ของไทย หากต้องการปีนเขา ต้องเริ่มต้นปีนที่หมู่บ้าน Lau Kawar และ Mardinding ใช้เวลาในการปีนขึ้นประมาณ 4 ชั่วโมง
Sibayak Volcano
ภูเขาไฟซิบายัค ซึ่งมีความสูง 2,172 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งทำให้บนยอดเขามีอุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาฯตลอดทั้งปี แต่ยังเป็นภูเขาไฟที่ยังคงมีชีวิตเหมือนกัน ที่สำคัญภูเขาไฟลูกนี้ปีนยากกว่าลูกแรกเพราะมีป่าดงดิบขึ้นหนาทึบ การไต่เขาจึงอันตรายกว่ามาก บริเวณปากปล่องยังคงมีลาวาเดือดพล่านอยู่ หากต้องการพิชิตยอดภูเขาไฟลูกนี้ จะต้องไปขึ้นเขาที่หมู่บ้าน Jaranguda ที่เดินเพียง 1.5 กิโลเมตร แต่ทางเดินลาดชันมาก และ หมู่บ้าน Raja Berneh ที่อยู่ไกลออกไป 15กิโลเมตร และใช้เวลาในการขึ้น 2-3ชั่วโมง
เลยจากบราสตากี้มาไม่ไกลนัก ระหว่างทางมี น้ำตก “ซีปีโซปีโซ่” (SipisoPiso) ที่มีความสูงถึงสูง 110 เมตร เป็นน้ำตกรูที่ไหลจากหน้าผาก่อนจะตกไปยังทะเลสาบโทบา และยังได้แวะชมหมู่บ้านของชาวบาตักอันเป็นชนพื้นเมืองของที่นี่อีกด้วย
น้ำตกซิปิโซปิโซ เป็นน้ำตกหนึ่งที่สวยที่สุด เป็นแหล่งน้ำตกไหลมาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ไหลมารวมกันแล้วตกลงสู่หน้าผา และไหลต่อไปยังทะเลสาปโทบา เป็นน้ำตกที่มีความงดงามบวกกับบรรยากาศโดยรอบซึ่งเป็นเทือกเขาหินสูงมีเมฆหมอกหนาปกคลุมบนยอดเขา พร้อกับ ชมวิวด้านล่างซึ่งเป็นแอ่งทะเลสาปน้ำจืดที่ใหญ่
เมื่อถึงเมืองพาราพัทติดทะเลสาบ Toba Lake โดยรถอีซูซุ พาร์ทไฟเดอร์ ที่ผมเลือกใช้ในการเดินทางเปิดวิสัยทัศน์ครั้งนี้ รุ่นนี้มี 7 ที่นั่ง ค่อนข้างกว้างและขับสบาย ๆ ( อีซูซุเป็นรถที่ผูกพันกับผมมาตลอด ) แล้วจึงนั่งเรือไปอีกครึ่งชั่วโมงจะเป็นเกาะซาโมซีร์ (Samosir Island) อยู่กลางทะเลสาบ แล้วเข้าหมู่บ้าน Tuk Tuk และ Tomok โดยรอบถ้ามองก็จะรู้เลยว่าบริเวณนีเคยเป็นปล่องภูเขาไฟ และดับลงเมื่อ 30000-75000 ปีก่อน ซึ่งขนาดของเกาะซาโมสีนี้ เทียบได้เกือบจะเท่ากับขนาดของเกาะสิงค์โปร์ เพียงแต่ว่าใจกลางของเกาะเป็นเทือกเขาสูง
ที่เกาะซาโมสีแห่งนี้ ปัจจุบันก็เงียบสงบมากๆ นักท่องเที่ยวไม่มากเหมือนแต่ก่อน ในอดีตชาวบาตัก ( Batak ) อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ชาวบาตักนั้นแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือ โทบา( Toba ), ปัก ปัก( Pak Pak ), สิมาลุงกัน( Simalungun ), คาโร( Karo ) และ เมนดาลิง( Mandailing) ซึ่งจะมีอาณาเขตที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน ซึ่งแต่ละกลุ่ม ก็จะมีราชาหรือผู้นำเผ่าของตน ชาวบาตักนั้นมีความเชื่อที่เข้มแข็ง ในเรื่องเวทมนต์ ภูตผี ปีศาจ คาถา แม่มด หมอผี วิญญาณ รวมไปถึงการกินเนื้อมนุษย์เป็นอาหารโดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด อาศัยอยู่ที่บริเวณ Toba Lakeซึ่งบริเวณนี้สูงจากระดับน้ำทะเล 1000 เมตร และเป็นทะเลสาปน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย
จนกระทั่ง ชาวดัทซ์ล่าอาณานิคมมาจนถึงที่นี่ มิชชันนารีจึงได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสตร์ ทำให้หลังจากนั้นชาวบาตัก จึงได้เปลี่ยนความเชื่อมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ความเชื่อดั้งเดิม ก็ยังสามารถพบเห็นได้บ้าง การแกะสลักไม้ และหิน
เอกลักษณ์ของบ้านชาวบาตักที่เห็นได้ทั่วไปนั้นก็คือ หลังคามีลักษณะโค้งเหมือนเขาควาย หลังคาสูง รูปร่างคล้ายเรือ สีดั้งเดิมจะเป็นสีแดง ดำ ขาว ยกพื้นสูง ที่ว่างใต้ถุนบ้านสำหรับ ควาย หมู หรือแพะ ด้านหน้าบ้านจะมี monster heads ติดไว้ และะมีรูปจิ้งจกอยู่ด้วยทุกบ้าน เรื่องจิ้งจกนี้บางคนก็แปลความหมายว่ามิตรภาพ บางคนก็แปลความหมายว่าเป็นเรื่องของการปรับตัวในการดำรงอยู่หรือมีความเป็นพี่เป็นน้องกันทั้งชนเผ่า
เอกลักษณ์ของบ้านชาวบาตักที่เห็นได้ทั่วไปนั้นก็คือ หลังคามีลักษณะโค้งเหมือนเขาควาย หลังคาสูง รูปร่างคล้ายเรือ สีดั้งเดิมจะเป็นสีแดง ดำ ขาว ยกพื้นสูง ที่ว่างใต้ถุนบ้านสำหรับ ควาย หมู หรือแพะ ด้านหน้าบ้านจะมี monster heads ติดไว้ และะมีรูปจิ้งจกอยู่ด้วยทุกบ้าน เรื่องจิ้งจกนี้บางคนก็แปลความหมายว่ามิตรภาพ บางคนก็แปลความหมายว่าเป็นเรื่องของการปรับตัวในการดำรงอยู่หรือมีความเป็นพี่เป็นน้องกันทั้งชนเผ่า
ชาวบาตักจะมีความชำนาญในด้านรูปแกะสลักไม้ ซึ่งรูปแกะสลักไม้ ก็เป็นเทพที่ชาวบาตักเชื่อว่าเป็นเทวดาที่จะคุ้มครองดูแล รักษาชีวิตชาวบาตัก ซึ่งสัญญลักษณ์ก็จะแตกต่างกันไป ถ้ามีโอกาสมาที่นี่ก็สามารถศึกษาเรื่องราวได้ที่พิพิธภัณฑ์ ชาวบาตักที่หมู่บ้าน สิมานิน
สำหรับอาชีพของชาบาตักนั้น จะให้ความสำคัญไปทางการประมง ด้วยสภาพภูมิประเทศในบางส่วนจะมีความลาดชันจึงไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกนัก การปลูกข้าวก็พอมีแค่เพียงพอต่อการบริโภคเท่านั้น แต่ด้วยความที่เป็นดินแดนภูเขาไฟมาก่อนดินจึงมีความสมบูรณ์เพาะปลูกได้ผลดี และอีกหนึ่งรายได้หลักย่อมหนีไม่พ้นรายได้จากการท่องเที่ยว คนบาตักส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ก็จริงแต่ก็ยังนับถือภูตผี การกลับชาติมาเกิด
Batak dance ที่พิพิธภัณฑ์ Simanando ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสิมานินดู ห่างจากหมู่บ้าน Tuk Tuk ที่พักอยู่ประมาณ 15กม.อยู่ทางด้านเหนือของเกาะ Samosir เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของชาวบาตัก จัดแสดงสิ่งของที่ที่บ่งบอกถึงอารยธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ เช่น ลายผ้า ข้าวของเครื่องใช้ และ แบบบ้านดั้งเดิมของชาวบาตัก และที่นี่เองราชาของชาวบาตัก ชื่อว่า ราจา สิมาลุงกัน ( Rajah Simalungun ) เคยอาศัยอยู่ที่นี่พร้อมด้วยชายา ทั้ง 14 พระองค์ เป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ
เดินทางไปกันต่อที่ LAKE TOBA ....เมื่อก่อนนักท่องเที่ยวเยอะมาก จนที่นี่ขึ้นชื่อเรื่อง Full Moon Party แต่ระยะหลังด้วยหลายๆสาเหตุ นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่นี่น้อยลง จนปัจจุบันไม่มีการจัดปาร์ตี้แล้ว เดี๋ยวนี้มีแต่คนบอกว่า Full Moon Party ต้องที่เมืองไทย...ขนาดคนบาตักที่นั่นยังทราบข่าว...
อ่านต่อ " 4 .ทะเลสาบโทบา อภิมหายักษ์ที่หลับแล้ว " ครับ...
http://anutjack3.blogspot.com/2013/10/5.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น