มีศิลาจารึกบอกไว้ให้ทราบว่า แถวๆ เมืองจาการ์ตาในปัจจุบันนี้เมื่อย้อนไปคริสตศตวรรษที่ 5-6 เคยมีอาณาจักรโบราณเก่าแก่ที่สุดแห่งชวาตะวันตก ชื่อว่า ตรุมา (Taruma) เรียกเต็มว่า ตรุมานคร บันทึกฝ่ายจีนเรียกว่า โตโลมา ซึ่งเป็นดินแดนที่นับถือพระพุทธศาสนา (บางตำราว่าเป็นฮินดู) มีราชาที่เข้มแข็งที่สุด พระนามว่าปูรณวรมัน แต่เรื่องราวของอาณาจักรนี้ นักประวัติศาสตร์ไม่อาจหารายละเอียดมาเล่าได้
ครั้นถึงต้นคริสตศตวรรษที่ 7 ( ยุคเดียวกับอาณาจักรศรีวิชัยในสุมาตรา ) ก็ได้มีอาณาจักรสำคัญเกิดขึ้นแล้วในชวาหลายแห่ง ทั้งอาณาจักรค้าขายชายฝั่งทะเล และอาณาจักรกสิกรรมทำนาข้าวลึกเข้าไปในผืนแผ่นดิน โดยเฉพาะในชวาภาคกลางและภาคตะวันออก
กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร ได้สร้างมหาสถูปยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า Borobudur ( สันนิษฐานว่าอาจเลือนมาจากคำว่า “ บรมพุทโธ ” ) ขึ้นเมื่อราว ค.ศ. 807 (บางตำราว่าสร้างตอนกลางคริสตศตวรรษที่ 9 อยู่ห่างจากเมืองจาการตาร์ประมาณ 68 กิโลเมตร)
มหาสถูป Borobudur มีความยิ่งใหญ่เพียงได้นั้น
เห็นได้จากการสร้างนั้นใช้ก้อนหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุต บนฐานสี่เหลี่ยม
กว้างด้านละ 121 เมตร (403 ฟุต) สูงขึ้นไปเป็นรูปแบบปิระมิด
มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป 8 ชั้น และในแปดชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลานสี่เหลี่ยม
3 ชั้นขึ้นไปเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้นสูงสุด มีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5
เมตร
กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทรนี้ ยังเป็นใหญ่ครองอาณาจักรศรีวิชัยในสุมาตรา โดยมีอำนาจครองแหลมมลายูส่วนใหญ่ด้วย จนกระทั่งศรีวิชัยที่ราชวงศ์ไศเลนทรไปปกครองนั้นเสื่อมลงไปในกลางคริสตศตวรรษที่ 11
ในยุคที่ศรีวิชัยในสุมาตราเสื่อมลงช่วงต้นๆ
คือในคริสตศตวรรษที่ 11 ได้เกิดมีอาณาจักรใหม่ขึ้นในชวาตะวันออก นับถือศาสนาฮินดูชื่อว่า
“
กาทิรี “
(Kadiri;ปัจจุบันเรียกว่า Kediri) มีเมืองหลวงชื่อว่าดาหา ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ใน คริสตศตวรรษที่ 8โดยพระเจ้าสญชัยแล้วก็มีอำนาจขยายออกไปตั้งแต่ชวาภาคกลางถึงภาคตะวันออก
ต่อมาต้นคริสศตวรรษที่ 11 ศูนย์อำนาจได้เคลื่อนย้ายไปทางตะวันออก เวลาผ่านไป ได้เกิดภัยพิบัติ
ถูกศรีวิชัยที่ขัดแย้งกันมาทำลายบ้าง ถูกกบฏทำลายบ้าง
จนกระทั่งปี ค.ศ.1019 เกิดมีราชาองค์สำคัญเรียกพระนามกันว่า Airlangga รวมกำลังฟื้นอาณาจักรให้เข้มแข็ง แล้วแบ่งอาณาจักรให้โอรส 2 องค์ครอง ครั้งนั้น อินโดนีเซียได้ถูกแยกเป็น 2 อาณาจักร คือ กาทิรี กับ ชังคละ ทำให้แตกกันและอ่อนแอลง กระทั่งราชาชยาภัย ( พระเจ้าเกนอังรก )สามารถรวมชังคละเข้ากับกาทิรีได้สำเร็จ และขยายดินแดนออกไปได้มาก แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าคุมสุมาตราที่ศรีวิชัยครองอยู่ได้ แล้วในที่สุด ในสมัยพระเจ้ากฤตนคร (ค.ศ.1268-1292 กษัตริย์ร่วมสมัยเดียวกับพ่อขุนรามคำแหง ฯ แห่งกรุงสุโขทัย ) เป็นกษัตริย์ชวาองค์แรก ที่ยกกองทัพไปปราบอาณาจักรศรีวิชัยที่สุมาตราได้ ( มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นเรียกว่าลังกาสุกะ และกลันตัน ) และได้ยึดครองบางส่วนของเกาะสุมาตราตีได้เกาะบาหลี มะทุราส่วนหนึ่งของเกาะบอร์เนียว และเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ และเริ่มมีสงครามกับไทยเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือช่องแคบมะละกาด้วย โดยตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมาแทนที่ ชื่อว่า “ อาณาจักรสิงหสารี ”
และด้วยอำนาจอันยิ่งใหญ่ของสิงหสารีก็เป็นที่สนใจแก่จักรพรรดิกุบไลข่านในจีน
ในปี 1289 จักรพรรดิกุบไลข่าน ได้ส่งทูตมาขอเครื่องราชบรรณาการ ( จิ้มก้อง )
ในเวลานั้นพระเจ้ากฤตนคร ผู้ปกครองอาณาจักรสิงหสารีทรงพิโรธและให้จับตัวราชทูตจีนมาตัดหู
และกรีดหน้าแล้วปล่อยตัวไป เมืองจีนทรงพิโรธว่าทางสิงหสารีปฏิบัติต่อราชทูตของพระองค์อย่างไม่ควรแก่เกียรติยศ
จึงเตรียมจะส่งทหารมาลงโทษ แต่ระหว่างนั้นในปี ค.ศ.1292 อาณาจักรกาทิรีคู่แข่ง
ที่ถูกสิงหสารีปราบลงก่อนนั้น โดยเจ้าชายชัยขัตวงศ์ แห่งกาทิรี พระเจ้ากฤตนครสิ้นพระชนม์ในที่รบ
ทำให้อาณาจักรสิงหสารีสิ้นสลาย ระเด่นวิชัย หรือ การ์ตะราชะสา (Kertarajasa)
โอรสกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหส่าหรี ซึ่งอยู่บนเกาะชวาเช่นกัน ได้หนีภัยไปซ่องสุมผู้คนอยู่ที่ฝั่งตะวันตก
เป็นอันว่าอาณาจักรมาตาราม ถูกแทนที่ด้วยอาณาจักรกาทิรี และอาณาจักรกาทิรี ถูกแทนด้วยสิงหสารี แล้วสิงหสารีก็เปลี่ยนเป็นมัชปาหิต ต่อมากษัตริย์มัชฌปาหิตก็ขยายอิทธิพลโดยส่งกองทัพเรือ เข้ามา ยึดครอง ดินแดนตามหมู่เกาะ ตลอดขึ้นมาถึงปลายแหลมไทย-มลายู ยึดปาหัง เสียมวัง กลันตัน และตรังกานู ฯลฯ ซึ่งเรียกรวมๆ กันว่า ลังกาสุกะ ไว้ได้
ในระยะเดียวกันนี้ อาณาจักรสุโขทัยก็ได้แผ่อำนาจเข้ามาครอบครองรัฐละโว้-อโยธยา สุพรรณภูมิ และนครศรีธรรมราช ไว้ และได้ผนวก กำลัง กันเข้าทำการขับไล่อิทธิพลของกษัตริย์มัชฌปาหิตออกไปจากแหลมไทยมลายู ต่อมามัชปาหิตเริ่มแผ่อำนาจเข้ามารุกรานแย่งเมืองอาเจ ซึ่งเป็นของไทยในเกาะสุมาตราจึงส่งกองทัพไปรบมัชปาหิต เมื่อปี ค.ศ.1295 แต่สงครามได้ยุติลงเพราะพระเจ้ากรุงจีนขอไว้ แต่ต่อมาภายหลังมัชปาหิตได้ยกกองทัพไปสุมาตรา และเข้าตีเมืองอาเจอีกเป็นครั้งที่สอง กองทัพเรือไทยจึงยกลงไปตีเกาะชวา เมื่อปี ค.ศ.1360 ในการสงครามครั้งนั้นไทยได้ทิ้งปืนใหญ่ไว้สองกระบอก
อาณาจักรมัชปาหิตมีกษัตริย์ปกครองเจ็ดองค์ ต่อมาได้มีการก่อการขบถจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองยืดเยื้อ ทำให้อำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต อ่อนกำลังลงรัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจต่างก็ตั้งตัวเป็นอิสระ และการขบถสงบลงโดยพระเจ้ายูโล แห่งราชวงศ์เหม็ง ซึ่งได้ส่งแม่ทัพเช็งโห จัดกองทัพเรือจีนไปปราบจับหัวหน้าขบถประหารชีวิต
ทางด้านสุมาตรา เจ้าชายปรเมศวรแห่งแดนศรีวิชัยเดิม คิดตั้งตัวเป็นอิสระ แม้ว่ามัชปาหิตจะขับไล่เหล่าผู้ก่อขบถนั้นพ้นไป และตามไปกำจัดที่สิงคโปร์จนเสร็จ แต่เจ้าชายปรเมศวรก็ไม่ลดละหนีต่อไปตั้งตัวที่มะละกา และเข้าภิเษกสมรสกับพระธิดาเจ้าเมืองปาไซในเกาะสุมาตราที่นับถือศาสนาอิสลามแล้วเข้ารีตศาสนาอิสลามกลายเป็นสุลต่านอิสกันดาร์ซาห์ และได้เดินทางไปเฝ้าจักรพรรดิ์จีน เพื่อขอให้จีนช่วยเจรจาห้ามปรามกษัตริย์ไทย ทำการรุกราน มะละกา ซึ่งฝ่ายไทยถือว่า ดินแดนมะละกา อยู่ในความปกครองของไทยมาก่อน ซึ่งหลังจากพ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์แล้ว กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา ไม่สามารถ ดำรงความเป็น ผู้นำ ไว้ได้ พระบรมราชากษัตริย์แห่งรัฐละโว้ อโยธยา ทรงปฏิเสธต่ออำนาจอาณาจักรสุโขทัย ได้ตั้งอาณาจักรอยุทธยา ขึ้นมาใหม่และได้เข้ายึดครอง เมืองนครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงหัวเมืองต่างๆ ตลอดจนสุดปลายแหลมมลายู
ต่อมารัฐสุลต่านแห่งมะละกา ตามที่เล่าข้างต้น เมื่อปีค.ศ.๑๔๐๒-๑๔๐๓ จึงยกกองทัพมุสลิมกลับไปรุกรานมัชปาหิต เมื่อปี พ.ศ.2021 โอรสของกษัตริย์โบนัง ผู้เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของมัชปาหิต พร้อมด้วยเจ้านาย และบริวารได้ลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในเกาะบาหลีเป็นที่มั้นสุดท้าย แต่ยังไม่หมดกำลังสิ้นเชิง โดยได้สกัดกั้นไม่ให้ศาสนาอิสลาม แผ่เข้าไปในเกาะนั้นได้สำเร็จ กระทั่งถึงต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๖ อำนาจที่ยังเหลืออยู่บ้างนั้นจึงถูกกำจัดไปในราวปีค.ศ.๑๕๒๗ ( หมายเหตุ - ซึ่งภายหลังอาณาจักรมาตารามก็ได้เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งในยุคเป็นแดนมุสลิมในกาลข้างหน้า หลังสิ้นมาตารามเก่าไป ๕๐๐ กว่าปี )
( ขอกล่าวถึงเกาะบาหลีในปัจจุบันอย่างคร่าว ๆ ชื่อ “ บาหลี “ คือ พลี ที่แปลว่า มีกำลังแข็งแรง อยู่ห่างไปทางตะวันออกของเกาะชวา โดยข้ามช่องแคบเพียงประมาณ ๒ กิโลเมตร และบาหลีเป็นถิ่นแดนเดียวในอินโดนีเซียปัจจุบัน ที่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นฮินดูแบบบาหลี (Balinese Hinduism) มีพุทธศาสนาแทรกเสริม ผสมผสานกับลัทธินับถือบรรพบุรุษผีสางและไสยเวท ถือระบบวรรณะของฮินดู แม้จะหย่อนกว่าในอินเดีย ชาวบาหลีส่วนใหญ่ราว ๙ ใน ๑๐ คนเป็นคนวรรณะศูทร )
มัชปาหิตจึงเป็นอาณาจักรฮินดูแห่งสุดท้ายในหมู่เกาะมาเลย์ หลังจากนี้ไปก็ไม่มีอาณาจักรใดในอินโดนีเซียตั้งอาณาจักรขึ้นมาได้อีก อีกทั้งชาติตะวันตก ก็ค่อย ๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาจับจองแสวงหาผลประโยชน์และขยายอำนาจในดินแดนแห่งนี้ โดยเนเธอร์แลนด์ก็เข้ารุกราน และอินโดนีเซียต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่างๆขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อพ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา
ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง
ไทยเคยปกครองอาเจห์จริงหรือ? สุโขทัยเคยปกครองละโว้จริงหรือ?คุณต้องเทียบกับหลักฐานภาษามลายูด้วย
ตอบลบ